ทำความรู้จักกับ “ถุงลมนิรภัย” เพื่อการขับขี่ที่ “ปลอดภัย” ของเรา

เป็นความโชคดีที่สุดแล้ว…สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้สัมผัสกับ “ถุงลมนิภัย” เพราะถ้าหากได้ใช้เมื่อไหร่นั้นหมายความว่า นำมาซึ่งอุบัติเหตุแน่นอน ทางที่ดีอย่าให้ได้ต้องใช้มันเป็นอันดีที่สุดค่ะ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักพร้อมประสิทธิภาพในหลายจุดของเจ้าถุงลมนิรภัยกันหน่อยดีกว่าว่าเป็นอย่างไรบ้าง…

รู้หรือไม่ว่า การทำงานของระบบถุงลมนิรภัยจะคล้ายๆ กัน คือจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการชนหรืออุบัติเหตุต่างๆ จากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมเพื่อสั่งให้ถุงลมพองตัวอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และเมื่อมีการชนอย่างรุนแรง ที่สำคัญคือต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เพราะจะช่วยรั้งให้ตัวเราอยู่ติดกับเบาะหากเกิดการชนเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นการช่วยลดการบาดเจ็บได้อย่างมาก สมัยนี้ถุงลมนิรภัยมีอยู่ในหลายจุดหลายรูปแบบ ซึ่งผู้ใช้รถเองอาจไม่ทราบเลยว่ามีถุงลมแบบนี้อยู่ในรถด้วยซ้ำ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย

  1. ถุงลมด้านหน้า (Front Airbog) หากมีการชนอย่างรุนแรงเซ็นเซอร์จะจับได้ว่ามีแรงปะทะ เกินค่าที่กำหนดถุงลมจะพองตัวภายในเวลา 0.015-0.030 วินาที ในการชนด้านหน้า เข็มขัดนิรภัยจะดึงร่างกายส่วนล่างและส่วนบน ส่วนถุงลมจะช่วยรองรับหน้าอกและศีรษะ
  2. ถุงลมด้านข้าง (Side Airbog) จะมีเซ็นเซอร์ลักษณะเดียวกับด้านหน้า การติดตั้งอาจมีอยู่ที่แผงประตูหรือที่ตัวเบาะนั่งก็ ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต
  3. ม่านถุงลม (Curtain Airbog) หากเกิดการชนด้านข้างในระดับปานกลางถึงรุนแรง ถุงลมแบบม่านจะพองตัวลงมา พร้อมการดึงกลับของเข็มขัดนิรภัย
  4. ถุงลมป้องกันเข่าและขา (Knee Airbog) จะซ่อนอยู่ใต้คอนโซลด้านผู้ขับขี่ บริเวณหัวเข่า ใช้ตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทกเดียวกับถุงลมนิรภัย ด้านหน้า ถุงลมประเภทนี้จะช่วยป้องกันขา หัวเข่า เข้าชนคอนโซล ด้านล่างใต้พวงมาลัย รวมทั้งสะโพกและต้นเข่า
  5. ถุงลมที่พื้นใต้เท้า (Carpet Airbog) ถุงลมชนิดนี้จะช่วยดูดซับแรงที่เท้าจะไปกระแทกกับพื้ นและผนังกั้นระหว่างห้องโดยสารและห้องเครื่อง โดยใช้เซ็นเซอร์เดียวกับถุงลมนิรภัยด้านหน้า (ยังไม่ใช้กันนัก)

นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท เพราะถุงลมนิรภัยเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุเท่านั้น อาจจะช่วยแค่บรรเทา แต่ไม่ได้ช่วยยับยั้งอุบัติเหตุ นอกจากตัวเราเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *