1.หน้ายาง
อยู่บริเวณด้านนอกของยาง ทำหน้าที่ป้องกันของมีคม เศษหินดินหรือที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับต่อโครงยางรถยนต์ โดยส่งผลให้เกิดการยึดเกาะถนนและรีดน้ำมีแรงตะกุยเวลาวิ่ง รวมถึงเบรกหยุดได้มั่นใจ
มี 3 ส่วนประกอบดังนี้ ดอกยาง สัมผัสยึดเกาะถนน, ร่องยาง ร่องรีดน้ำ โคลน, ร่องเล็กบนยาง เพิ่มความยืดหยุ่น
2.แก้มยาง
อยู่ด้านข้างสุดของยาง เป็นส่วนยืดหยุ่นที่สุด และบอบบางที่สุดเช่นกัน หากเกิดความเสียหายบริเวณนี้ไม่แนะนำให้ปะซ่อม แนะนำเปลี่ยนยางใหม่ปลอดภัยกว่าครับ มีหน้าที่ช่วยป้องกันอันตรายต่อโครงยางเช่นกัน และช่วยพยุงน้ำหนักตัวรถและซับแรงกระแทกพื้นถนนต่างระดับด้วย
3.ไหล่ยาง
ส่วนที่เชื่อมต่อกับหน้ายางและแก้มยาง โดยถูกออกแบบเป็นร่องและความหนาที่เหมาะสม มีหน้าที่ช่วยระบายความร้อนภายในยาง ไม่ให้เกิดความร้อนสะสมและส่วนป้องกันโรงยางอีกส่วน
4.ชั้นในของยาง หรือ เนื้อยาง
ส่วนชั้นในของยาง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าประเภทยางเรเดียล จะไม่มียางในแล้วนะครับ อยู่ภายในท้องยาง สูตรการผลิตพิเศษมีหน้าที่กักเก็บลม นำมาแทนที่ยางในไม่ให้มีการรั่วซึม ปกติจะทำมาจากยางสังเคราะห์มักผสมซิลิก้ามักพบเจอได้ในยางกลุ่มพรีเมียม ตามแต่ละยี่ห้อมีเทคโนโลยีการผลิตต่างกัน
5.ขอบยาง
ประกอบด้วยกลุ่มเส้นลวดเหล็กช่วยยึดส่วนปลายทางทั้ง 2 ข้างของโครงยางไว้ เพื่อให้บริเวณของยาง มีความแข็งแรง ยึดแน่นสนิทกับกระทะล้อ และป้องกันไม่ให้เกิดยางรั่วซึมในอีกระดับ
6.ชั้นผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือเข็มขัดรัดหน้ายาง
ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงมากขึ้น รับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยางเสียหายเป็นชั้นแทรกระหว่างหน้ายางกับโครงยาง โดยเฉพาะกลุ่มรถบรรทุกมักจะต้องใส่ใจในเรื่องชั้นผ้าใบมากเป็นพิเศษ เมื่อเทียบรถเก๋งเพราะจะมีผลต่อการบรรทุกน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
7.โครงยางรถยนต์
ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของยาง รักษาระดับความดันลมยาง ทำให้ยางสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ ความแข็งแรงทนทาน ทนต่อการกระแทก หรือสั่นสะเทือนและกระจายแรงสม่ำเสมอจากถนน จึงมีผลอย่างมากต่อการสึกหรอ ต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ และแรงต้านการหมุนที่ส่งต่อการประหยัดน้ำมัน
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ยางรถยนต์ 1 เส้น หน้าตาภายนอก กลมดำเหมือนกัน แท้จริงแล้ว ภายในมีส่วนประกอบและความซับซ้อนหน้าที่ส่งผลต่อรถของเราได้มากกว่าที่คิด แนวทางการดูแลก็แสนจะง่ายแค่ 2 ข้อแนะนำทำได้เอง คือ หมั่นเติมลมยางเหมาะสมอยู่เสมอ สังเกตจากสติกเกอร์ข้างประตูคนขับ และหมั่นตรวจเช็กสภาพยางภายนอกก่อนเดินทาง เพื่อให้มั่นใจปลอดภัยไม่มีตะปูตำ หรือความเสียหาย ทำให้มั่นใจในทุกครั้งที่ออกเดินทาง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : https://tiresbid.com